รัฐบาลภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน เตรียมเสนอพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กู้เงิน 500,000 ล้านบาท เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในช่วงต้นปีหน้า เพื่อแจกเป็นเงินดิจิทัล 10,000 บาท ให้แก่คนไทยรวม 50 ล้านคน เริ่มเดือน พ.ค. 2567
วันที่ 10 พย.66 ที่ผ่านมา คําตอบในการดําเนินนโยบายนี้ คือการออก พ.ร.บ. วงเงิน 500,000 ล้านบาท” นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เปิดแถลงข่าวฝ่ายเดียว โดยไม่เปิดให้สื่อมวลชนได้ซักถาม
นายกรัฐมนตรีระบุว่า การออก พ.ร.บ.กู้เงิน จะเป็นไปอย่างรอบคอบ รัดกุม ไม่ขัดต่อหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีความโปร่งใสภายใต้การตรวจสอบถ่วงดุลในระบบรัฐสภา พร้อมแสดงความมั่นใจว่า “ในที่สุดแล้วจะได้รับการอนุมัติโดยรัฐสภา” และเป็นไปตามมาตรา 53 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
การตัดสินใจใช้ “เงินกู้” เป็นแหล่งทุนในการดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ต เกิดขึ้นภายหลังนายกรัฐมนตรีเรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เป็นการด่วน ที่ทำเนียบรัฐบาล ในก่อนประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต แม้ก่อนหน้านี้คนในรัฐบาลยืนยันหลายกรรมหลายวาระว่า “จะไม่กู้เงิน”
อย่างไรก็ตามยังไม่มีการเปิดเผยว่าจะใช้แหล่งเงินกู้จากที่ใด ภายในหรือนอกประเทศ
.
เทียบเกณฑ์เดิมช่วงหาเสียง vs คำประกาศหลักเกณฑ์ใหม่
1. วงเงินที่ใช้ดำเนินการ
เดิม: วงเงิน 560,000 ล้านบาท
ใหม่: วงเงิน 500,000 ล้านบาท และอีก 100,000 ล้านบาท ใช้ในกองทุนเพิ่มขีดความสามารถ
2. แหล่งเงินที่ใช้ดำเนินการ
เดิม: แจ้ง กกต. ว่าจะใช้งบประมาณจาก 4 แหล่ง ได้แก่ 1. ประมาณการว่าปี 2567 รัฐจะจัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น 260,000 ล้านบาท 2. การจัดเก็บภาษีนิติบุคคลจะเพิ่ม 100,000 ล้านบาท 3. การบริหารจัดการงบประมาณ 110,000 ล้านบาท และ 4. การบริหารงบประมาณด้านสวัสดิการที่ซ้ำซ้อน 90,000 ล้านบาท
ใหม่: ออก พ.ร.บ.กู้เงิน วงเงิน 500,000 ล้านบาท
3. แพลตฟอร์ม
เดิม: ระบบบล็อกเชน
ใหม่: แอปพลิเคชัน “เป๋าตัง”
4. ผู้ได้รับอานิสงส์
เดิม: คนไทยอายุ 16 ปีขึ้นไปทุกคน รวม 54.8 ล้านคน
ใหม่: คนไทยอายุ 16 ปีขึ้นไป ที่มีรายได้ไม่ถึง 70,000 บาท/เดือน มีเงินฝากไม่เกิน 500,000 บาท รวม 50 ล้านคน
5. รัศมีการใช้จ่าย
เดิม: ภายใน 4 กม. จากที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
ใหม่: ภายในอำเภอ ตามที่อยู่ในบัตรประชาชน
6. ระยะเวลาในการใช้จ่าย
เดิม: 6 เดือนหลังจากเริ่มโครงการ โดยดำเนินการพร้อมกันทั้งประเทศ
ใหม่: 6 เดือนหลังจากเริ่มโครงการ และเงินที่ถูกใช้และเข้าไปอยู่ในระบบแล้ว จะสามารถใช้จับจ่ายต่อได้จนถึงเดือน เม.ย. 2570
7. วันเริ่มโครงการ
เดิม: นายกฯ ประกาศในครั้งแรกว่าจะเริ่ม 1 ก.พ. 2567 เพื่อให้ประชาชนกลับภูมิลำเนาไปใช้เงินดิจิทัลได้ช่วงสงกรานต์เดือน เม.ย. 2567
ใหม่: เดือน พ.ค. 2567
8. เงื่อนไขการใช้จ่าย
เดิม: ซื้อสินค้าได้ทุกประเภท แต่ไม่สามารถซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อบายมุข และการใช้หนี้
ใหม่: ซื้อสินค้าได้ทุกประเภท แต่ไม่สามารถใช้กับบริการ, ซื้อสินค้าออนไลน์, ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ กัญชา กระท่อม, ซื้อบัตรกํานัล บัตรเงินสด ทองคํา เพชร พลอย อัญมณี, ชำระหนี้, จ่ายค่าเล่าเรียน, จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำมันและก๊าซ และไม่สามารถแลกเป็นเงินสดได้
9. เงื่อนไขของร้านค้า
เดิม: ร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษีสามารถนำเงินดิจิทัลไปแลกเป็นเงินบาทได้หลังจากนั้น
ใหม่: ใช้ได้กับทุกร้านค้า ไม่จํากัดแต่ร้านอยู่ในระบบภาษี ร้านค้ารถเข็น ร้านโชว์ห่วย ร้านค้าที่อยู่บนแอปฯ เป๋าตัง ใช้ได้หมด แต่ต้องมีการลงทะเบียนรับสิทธิ และร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษีเท่านั้นที่จะขึ้นเงินได้
.
ขอบคุณข้อมูลจาก bbc.com
.
ร่วมกันพัฒนาชุมชน ชาวเชียงใหม่ และสังคมไทย
ด้วยการแจ้งปัญหาในพื้นที่
คลิก : https://lin.ee/ZqQlQGq
ของพลตรีอินทรัตน์ ยอดบางเตย
หรือ #เสธยอด
พร้อมรับฟังทุกปัญหาของเมืองเชียงใหม่